วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตำลึง



ชื่อท้องถิ่น

ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Coccinia grandis (L.) Voigt

วงศ์

CUCURBITACEAE

ชื่อสามัญ

Ivy Gourd

ลักษณะ

ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม หักเป็นห้ามุม หรือเว้าลึกเป็นแฉก 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาว 5-8 ซม. โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะเป็นเส้นยาว ออกที่ข้อ ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาว รูประฆัง ผล เป็นผลสด รูปทรงกระบอก

การขยายพันธุ์

เมล็ด ใช้เมล็ดจากผลแก่ หยอดลงในหลุม เมื่อต้นกล้างอก หาไม้ปักเป็นหลัก เพื่อให้ตำลึงเลื่อย ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย นอกจากนั้นสามารถนำเถาแก่ปักชำ โดยตัดเถาแก่ขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุงเพาะชำ เมื่อรากและยอดงอก ก็ย้ายไปปลูกในหลุม

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เถา ใบสด ผล ราก

สารเคมีและสาร
อาหาร ที่สำคัญ

เอนไซม์อะไมเลส เบต้าแคโรทีน

สรรพคุณทางยา
และ วิธีใช้

  รักษาโรคเบาหวาน : ใช้ เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

  ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควร รับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

  ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)

  แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือ รากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

  แก้งูสวัด, เริม:ใช้ใบ สด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

  แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถา เป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

  ทำให้ใบหน้าเต่งตึง:นำ ยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก

ประโยชน์

ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้ง เพราะในใบและเถามีเอนไซนม์อะไมเลส (Amylase) ซึ่งช่วยในการย่อยแป้ง

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

แตงไทย,tangthai

 

  ชื่อ : แตงไทย

         ชื่อสามัญ : Musk Melon
         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo Linn.
         วงศ์ : CUCURBITACEAE


แตงไทย
ผักและผลไม้ที่มีกลิ่นและรสชาติแบบไทยๆ
“มันยกร่อง ฟักทอง แตงไทย
อีสาวหน้ามล ทำไมเป็นคนหลายใจ...”

เนื้อ เพลงข้างบนนี้เป็นตอนขึ้นต้นเพลงลูกทุ่งยอดนิยมในอดีต ซึ่งขับร้องโดย ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งยังคงร้องเพลงอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน เพลงนี้ชื่อ “มันยกร่อง” ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อมันชนิดพิเศษ หรือพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด หากแต่เป็นมันที่ปลูกบนพื้นที่ยกร่องสวน อันเป็นเทคนิคการปรับปรุงพื้นที่ของเกษตรกรในเขตภาคกลางที่ราบลุ่มและมีน้ำ ท่วมขังเป็นประจำแทบทุกปี
พืชที่ปลูกบนพื้นที่ยกร่องสวนดังกล่าวมักมีคำว่า “ยกร่อง” หรือ “สวน” พ่วงอยู่ข้างท้ายด้วย เพื่อแสดงถึงแหล่งที่มาหรือวิธีการปลูก เช่น “มันยกร่อง” หมายถึงมันที่ปลูกในพื้นที่ยกร่องสวน ต่างจากมันทั่วไปซึ่งปลูกในสภาพไร่บนที่ดอน  หรือ “กล้วยสวน” หมายถึงกล้วยที่ปลูกในพื้นที่ยกร่องสวน มิใช่กล้วยที่ปลูกในพื้นที่ไร่ทั่วไป เป็นต้น คนไทยเชื่อ(หรือทราบดี)ว่า คุณภาพของพืชผักหรือผลไม้ที่ปลูกบนร่องสวนในระบบร่องนั้นมีคุณภาพดีกว่าปลูก ในสภาพไร่(ที่ไม่มีการยกร่อง) ตัวอย่างที่ชัดเจนและยอมรับกันทั่วไปได้แก่ทุเรียนสวน (ปลูกในระบบยกร่อง แถบจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง) มีคุณภาพและรสชาติดีกว่าทุเรียนจากภาคตะวันออก(ระยอง จันทบุรี ฯลฯ)  ซึ่งปลูกในพื้นที่ไม่ได้ยกร่อง
แม้จะใช้ทุเรียนพันธุ์เดียวกันและนำไป จากต้นแม่พันธุ์เดียวกันก็ตาม เช่น ทุเรียนหมอนทองจากสวนยกร่อง จังหวัดนนทบุรี มีรสชาติดีกว่าและแพงกว่าทุเรียนหมอนทองจากจังหวัดระยอง(ปลูกโดยไม่ยกร่อง) เป็นต้น
ที่ขึ้นต้นมายืดยาวเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพของพืชผลที่ได้จาก ระบบยกร่องสวน ก็เพราะปัจจุบันสวนผลไม้แบบยกร่องบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล(นนทบุรี ปทุมธานี)กำลังเสื่อมโทรมและหมดไปทุกที
เนื่องจาก สภาพสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ(น้ำและอากาศเสีย) รวมทั้งความเจริญที่แผ่ขยายเข้าไปทำให้พื้นที่สวนผลไม้ที่ดีที่สุดของประเทศ ไทย กลายสภาพเป็นตึกรามบ้านช่องหรือโรงงานไปเรื่อยๆ สวนผลไม้ที่เกิดขึ้นใหม่ก็มักไม่ใช้วิธีการยกร่อง เช่น สวนทุเรียนในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เป็นต้น
ในอนาคตคนไทยคงหาโอกาสชื่นชมหรือมีความสุขกับรสชาติดีเยี่ยมของทุเรียนสวนได้ยากขึ้นทุกทีแล้ว
คน ไทยนั้นมีความละเอียดประณีตมากในเรื่องรสชาติของอาหาร ดังนั้นจึงทราบดีว่า รสชาติ(รวมทั้งกลิ่น)ของผักและผลไม้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย ทั้งสภาพดิน ฟ้า อากาศ วิธีการปลูก ปุ๋ย การให้น้ำ... ฯลฯ และจากชนิดพันธุ์ของพืชด้วย
แตงไทยเป็นพืชชนิดหนึ่งซึ่งคนไทยตั้งแต่ อดีตทราบดีว่า มีความแตกต่างด้านกลิ่นและรสชาติอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับแตงชนิดอื่นๆ หรือแม้แต่ระหว่างพันธุ์ต่างๆในแตงไทยชนิดเดียวกัน

แตงไทย : จากแดนไกลมาเป็นไทยเต็มตัว
แตงไทย เป็น พืชในวงศ์เดียวกับ บวบ ฟัก หรือแตงต่างๆนั่นเอง คือวงศ์ Cucurbitaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo Linn เป็นไม้ล้มลุกที่มีเถาเลื้อยไปบนพื้นดิน มีมือจับตรงง่ามใบ ใบมีขนาดใหญ่คล้ายๆใบแตงกวา ทุกส่วนของลำต้นมีขนสีขาวปกคลุม ดอกสีเหลือง แยกเป็นดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผลมีขนาดโตกว่าแตงกวา แต่เล็กกว่าแตงโม รูปร่างกลมรี หรือกลมยาว หัวท้ายมน ผิวเปลือกบาง ผิวสีขาว ครีม เหลือง เขียว หรือมีลาย  เนื้อเมื่ออ่อนสีขาว  เมื่อสุกสีขาว เขียวอมเหลือง แสด ฯลฯ เนื้ออ่อนนุ่ม บางพันธุ์ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวค่อนข้างแรง รสหวานไม่มากเท่าแตงโม ขึ้นอยู่กับพันธุ์และวิธีปลูก เมล็ดแบนสีขาวครีมเล็กและสั้นกว่าเมล็ดแตงกวา
แตงไทยมีถิ่นกำเนิดดั้ง เดิมอยู่แถบภาคใต้ของทวีปแอฟริกาเช่นเดียวกับแตงโม และแพร่หลายไปทั่วโลกเหมือนกัน แตงไทยเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่เมื่อใดไม่มีบันทึกเอาไว้แต่ คงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว  จึงพบว่ามีปลูกอยู่ทั่วไปทุกภาครวมทั้งคนกลุ่มน้อย เช่น ชาวไทยภูเขาต่างๆ ก็ปลูกแตงไทยมานานแล้วเช่นกัน
ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ของหมอปรัดเล พ.ศ.๒๔๑๖ กว่าร้อยปีมาแล้ว  อธิบายเกี่ยวกับแตงไทยเอาไว้ว่า “แตงไท : เป็นชื่อแตงอย่างหนึ่ง ลูกลายๆ ถ้าสุกกินรสหวานเย็นๆที่เขากินกับน้ำกะทินั้น” แสดง ว่าชาวไทยรู้จักเพาะปลูกและกินแตงไทยกันมากว่าร้อยปีแล้ว ยิ่งกว่านั้นยังเรียกว่า แตงไท และนิยมกินแตงไทยกับน้ำ(เชื่อม)กะทิเหมือนในปัจจุบันอีกด้วย
แตงไทย เป็นชื่อที่เรียกในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกแตงลาย มะแตงลาย หรือมะแตงสุก  ภาคอีสานเรียก แตงจิง ภาษาอังกฤษเรียก Musk melon และ Cantaloupe ซึ่งเป็นแตงชนิดเดียวกัน แต่รูปร่างผล กลิ่น และรส แตกต่างจากแตงไทย ดังนั้น คนไทยจึงเรียก Musk melon และ Cantaloupe ว่าแตงฝรั่ง หรือเรียกทับศัพท์ว่า แตงแคนตาลูปบ้าง
แตงไทยจึงเป็นผักและผลไม้ที่ น่าปลูกอย่างยิ่งไม่เฉพาะเกษตรกรเท่านั้น หากรวมถึงผู้อ่านที่มีพื้นดินหรือบริเวณบ้านพอแบ่งเป็นสวนครัวหลังบ้านได้ บ้าง เพราะแม้จะไม่เคยปลูกแตงไทยมาก่อนเลยก็อาจปลูกแตงไทยได้โดยไม่ต้องอาศัยสาร เคมีชนิดใดๆทั้งสิ้น หรือหากไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกแตงไทยเลย ก็ขอให้ช่วยกันกินแตงไทยมากๆ เพราะนอกจากท่านจะได้กลิ่นและรสชาติของแตงแบบไทยๆแล้ว ท่านยังปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างชนิดต่างๆอีกด้วย
                                                          **********************
อาหาร
แตงไทยในฐานะ : ผักและผลไม้
แตง ไทยผลอ่อน ใช้เป็นผักจำพวกผักผลสดเช่นเดียวกับแตงกวา นิยมใช้กินสดเป็นผักจิ้มชนิดหนึ่ง รสชาติคล้ายแตงกวาแต่เนื้อแน่นกว่า(น้ำน้อยกว่า) นอกจากนั้นยังนำไปยำและแกงเช่นเดียวกับแตงกวา รวมทั้งใช้ดองเป็นแตงดองได้ดีอีกด้วย นิยมดองให้มีรสออกหวานและเค็มเล็กน้อยมากกว่าดองเปรี้ยว
น่าเสียดายที่คน ไทยยุคปัจจุบันไม่นิยมนำผลแตงไทยอ่อนมาใช้เป็นผักมากเหมือนในอดีต เท่าที่สังเกตดูจะมีแต่ภาคอีสานเท่านั้นที่ยังนิยมมากพอสมควร
ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่รู้จักแตงไทยในฐานะผลไม้ชนิดหนึ่ง เพราะยังนิยมกินกันอยู่ โดยเฉพาะขนมประเภทน้ำแข็งใส จะขาดแตงไทยน้ำ(เชื่อม)กะทิไปไม่ได้ เนื่องจากมีกลิ่นและรสชาติพิเศษไม่เหมือนผลไม้อื่น นับว่าแตงไทยน้ำกะทิเป็นขนมยอดนิยมของคนไทยยืนยาวมากว่าร้อยปี และคงนิยมต่อไปอีกนาน
นอกจากทำขนมแล้ว แตงไทยผลสุกยังนำมากินโดยตรงได้เช่นเดียวกับแตงโม แต่ไม่นิยมเท่าแตงโมเพราะไม่หวานเท่า รวมทั้งไม่นิยมเท่าแตงฝรั่ง(แคนตาลูป) เพราะรสชาติไม่หวานเท่าและเนื้อเละกว่า  อย่างไรก็ตาม แตงไทยก็มีข้อดีตรงที่แข็งแรง ทนทาน ปลูกได้ง่ายกว่า และปลูกได้ตลอดปี สามารถปลูกแบบไม่ใช้สารเคมีเลย(แบบอินทรีย์)ได้ดีกว่าแตงโมหรือแตงฝรั่ง นอกจากนี้แตงไทยยังมีสายพันธุ์หลากหลายมาก มีโอกาสปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณภาพดีได้อีกมาก หากมีการปรับปรุงพันธุ์แตงไทยกันอย่างจริงจังแล้ว อีกไม่นานชาวไทยคงได้กินแตงไทยที่มีรสชาติและคุณสมบัติต่างๆ เท่าเทียมหรือดีกว่าแตงฝรั่ง รวมทั้งปลูกได้ตลอดปีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีทุกชนิดอีกด้วย
กลิ่นและรส ชาติของผลแตงไทยสดยังเหมาะสำหรับทำน้ำแตงไทย เพราะทำได้ง่าย กลิ่นและรสดี สีสวย คุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากมีวิตามินเอสูงมาก นอกจากนี้ยังมีวิตามินซี ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม ฯลฯ อยู่มากด้วย
ประโยชน์ด้านอื่นๆ
เนื่อง จากแตงไทยเป็นแตงที่ปลูกง่าย บางครั้งจึงนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วย เช่น หมู ไก่ เป็ด และปลา เป็นต้น โดยเฉพาะชาวไทยภูเขาซึ่งใช้วิธีเพาะปลูกแบบดั้งเดิม คือปลูกข้าวไร่พร้อมๆไปกับผักและผลไม้หลายชนิดในแปลงเดียวกัน
สมุนไพรแตงไทยสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคได้หลายส่วน เช่น
  • เนื้อผลอ่อน  : รสเย็นจืด แก้กำเดา(เลือดออกทางจมูก)
  • เมล็ดแก่ : ใช้ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ
  • โคนก้านผล : มีสารรสขม ชื่อ elaterin แก้ไอ ทำให้อาเจียน
 ที่มา:http://www.doctor.or.th/node/3941

แตงกวา ,Cucumber

ชื่อ : แตงกวา
ชื่อสามัญ : Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis Sativus Linn.
 วงศ์ : CUCURBITACEAE
ภาพ:Cucumber_3.jpg

       

ลักษณะทั่วไปของแตงกวา

 แตงกวา เป็นผักที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ขายเป็นกิโลกรัม ขายเป็นกอง หรือเป็นถุงราคาค่อนข้างถูก คนไทยทุกภาคนิยมกินแตงกวากันทั้งนั้น คนเหนือ คนอีสานกินแตงกวากับน้ำพริกต่างๆ กินกับลาบ คนภาคกลางก็กินกับน้ำพริก คนใต้ก็มีแตงกวาเป็น “ผักเหนาะ” ชนิดหนึ่งในจานผักที่หลากหลายที่นิยมกินกับอาหารใต้ที่มีรสจัด และโดยทั่วไปแตงกวายังได้รับเกียรติให้กินคู่กับอาหารจานเดียวอีกหลายชนิด เป็นต้นว่า ข้าวผัด ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ข้าวหมกไก่ รวมทั้งในจานสลัดก็ยังมีแตงกวาเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ เนื่องจากแตงกว่าเป็นผักที่มีน้ำมาก แตงกวาจึงช่วยผ่อนคลายความเผ็ดได้ดี และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว

คุณค่าทางอาหาร

แตงกวานิยมรับประทานทั้งสดและนำมาประกอบอาหารต่างๆ ได้มากมาย นอกจากินแตงกวาเป็นผักสดแล้ว ลองมาดูซิว่า แตงกวาสามารถนำไปประกอบอาหารง่ายๆ อะไรได้บ้าง เราสามารถนำแตงกวาไปทำแกงจืด หรือผัดใส่ไข่ก็ยังได้ ถ้ามีแตงกวาเยอะก็ยังนำไปดองเก็บเอาไว้กินได้อีกหลายวัน อาหารตะวันตกหลายชนิดก็นิยมกินกับแตงดอง

ประโยชน์ของแตงกวา

ภาพ:Cucumber_6.jpg

          จากการวิเคราะห์ของกองอนามัยไทย แตงกวาให้โปรตีนประมาณ ร้อยละ 1 และให้สารอาหารอื่นๆ เช่นวิตามินซี และเบต้า-แคโรทีน เพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผักสีเขียวเข้มอื่น ถึงแม้ว่าแตงกวาจะไม่มีสารอาหารมากนัก แต่น้ำแตงกวามีสรรพคุณทางยา คือ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก และสำหรับผู้ที่รักสวยรักงาม ก็นิยมนำแตงกวามาฝานเป็นแว่นบาง ๆ วางแนบบนผิวหน้า หรือบนเปลือกตา เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว และบำรุงผิว บางครั้งสูตรนี้คงต้องทำในที่ส่วนตัวสักหน่อย
          ใบแตงกวาก็ยังสามารถใช้แก้ท้องเสีย บิด ส่วนเถาก็ช่วยลดความดันโลหิตได้

 

การปลูกและดูแล

ภาพ:Cucumber_4.jpg

          คนไทยนิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ และปลูกเป็นผักสวนครัวกัน มาก เพราะเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว อีกทั้งสภาพแวดล้อมของบบบ้าน]]เราก็เหมาะแก่การปลูกแตงกวาเป็นอย่างยิ่ง ความดีของแตงกวาอีกประการหนึ่งที่ทำให้คนไทยนิยมปลูก คือ แตงกวามีความทนทาน เปลือกของแตงกวายังช่วยให้การขนส่ง การเก็บรักษาก็ง่ายกว่าผักชนิดอื่นๆ
          แตงกวาเป็นพืชเถาเลื้อยที่มีมือเกาะ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ลำต้นยายประมาณ 2-3 เมตร มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว มีมุมแหลม 3-5 แฉก ดอกเป็นดอกตัวผู้ และตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ดอกตัวเมียจะเกิดเดี่ยวๆ มีสีเหลือง สังเกตได้ง่าย คือมี ลักษณะคล้ายแตงกวาผลเล็ก ๆ ติดกับกลีบดอก ส่วนดอกตัวผู้จะมีเฉพาะก้านดอกเท่านัน ในการปลูกแตงกวา ถ้ามีดอกตัวเมียมากจะทำให้ได้ผลผลิดสูง
          ผลในขณะยังเล็กจะสังเกตเห็นหนามได้อย่างชัดเจน หนามของแตงกวาจะมีสีขาวและสีดำ แตงกวาหนามสีดำจะเก็บได้เพียง 3-4 วัน หลังเก็บจากต้น ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง นิ่ม ไม่กรอบ ส่วนแตงกวา ที่มีหนามสีขาวจะมีคุณสมบัติพิเศษ เก็บไว้ได้นานประมาณ 7 วัน โดยไม่นิ่ม และไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็ว

พันธุ์แตงกวา

ภาพ:Cucumber_1.jpg

          พันธุ์แตงกวาที่ใช้ปลูกโดยทั่วไปจำแนกได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สำหรับรับประทานสด และพันธุ์สำหรับอุตสาหกรรม (1) พันธุ์สำหรับรับประทานสดจะมีเนื้อบางและไส้ใหญ่ (2) พันธุ์สำหรับอุตสาหกรรมเป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็กหรือบางพันธุ์ไม่มีไส้เปลือก มีสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูป ไม่เหี่ยวย่น
          การปลูกแตงกวามี 2 แบบ คือ ปลูกโดยใช้ค้างหรือ ปลูกโดยไม่ใช้ค้างก็ได้ ตามแต่สภาพพื้นที่ และความสะดวกของผู้ปลูก การปลูกโดยใช้ค้างจะช่วยพยุงลำต้น ทำให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น แต่จะเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย การปลูกแบบใช้ค้างนิยมใช้กับแตงกวาที่จะใช้ดอง เพราะถ้าไม่ใช้ค้างแล้วผลจะงอ ไม่สวย และผลจะเน่าได้ง่าย เนื่องจากผลแตงสัมผัสกับดิน
          แตงกวาสามารถขึ้นได้ดีในดอนแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทราย มีความชื้นพอเหมาะ มีการระบายน้ำได้ดี เพราะถ้าน้ำขังแฉะจะทำให้เกิดโรคทางใบได้ง่าย การเตรียมดินปลูกแตงกวาเป็นพืชที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรขุดดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใช้ระยะระหว่างแถว           1 เมตร ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร หยอดเมล็ดปลูกโดยตรงหลุมละ 3-5 เมล็ด กลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือดินผสมละเอียดลงจนเต็มหลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟาง หรือหญ้าแห้ง เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้น ประมาณ 14 วัน แตงกวาจะเริ่มเลื้อย
          แตงกวาเป็นพืชที่ชอบน้ำและความชื้นพอประมาณ ระยะแรกควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ จนแตงกวาเริ่มออกดอกจึงลดลงเหลือ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ไม่ควรปล่อยให้แตงกวาขาดน้ำ ในระยะออกดอก จะทำให้ดอกร่วง แตงกวาที่ขาดน้ำจะมีรสขม
          เมื่อแตงกวามีอายุ 30-40 วัน หลังจากหยอดเมล็ดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากเก็บผลแตงกวาแล้วต้องรีบนำเข้าที่ร่มทันที ห้ามล้าง เพราะจะทำให้ผลเหลืองเร็ว หลังฝนตกใหม่ ๆ ไม่ควรเข้าไปเก็บเกี่ยว ควรรอให้ดินแห้งดีก่อน
          แตงกวาชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด ถ้าร้อนเกินไปแตงกวาก็จะมีแต่ดอกตัวผู้ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย สภาพอุณหภูมิของไทยสามารถปลูกแตงกวาได้ตลอดปี ผลผลิตที่ได้ก็อาจแตกต่างกันไปบ้าง



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วราภรณ์ วิชญรัฐ, ไม้เลื้อยกินได้, สุรีวิยาสาส์น กรุงเทพมหานคร,2548. 120 หน้า
http://www.panyathai.or.th

 


 

แมงลัก(Mangluk)-Hoary Basil : ผักพื้นบ้านน่ารักที่ไม่ใช่ตัวแมง

 “แมงอะไรเอ่ย ที่น่ารัก”
คำทายข้างบนนี้ยังไม่เคยมีใครนำมาใช้ทายกันมาก่อน เนื่องจากเป็นคำทายที่ผู้เขียนเพิ่งคิดขึ้นก่อนเขียนบทความตอนนี้ไม่ถึง ชั่วโมงและขอเฉลยตรงนี้เลยว่าคือ “แมงลัก”

หัวใจ ของคำทายนี้อยู่ที่คำว่า “แมง” ซึ่งคนไทยสมัยก่อนทราบความหมายเป็นอย่างดี แต่คนสมัยนี้เริ่มเข้าใจน้อยลง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ อธิบายว่า “แมง” เป็นคำนามใช้เรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่าง กายแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ ขาไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง เป็นต้น

จะ เห็นได้ว่าบรรดาแมงชนิดต่างๆ ตามความหมายทางการนั้นล้วนแต่ไม่น่ารักทั้งสิ้น แต่นอกจากแมงดังกล่าวแล้ว ยังมีแมงอื่นๆ ในการยอมรับของชาวบ้านอีกมากที่ดูเหมือนจะน่าเกลียดยิ่งขึ้นไปอีก เช่น แมงคาเรือง ซึ่งเป็นสัตว์จำพวกตะเข็บหรือตะขาบ มีขามากมายเกิน ๘ ขา เป็นอันมาก คนสมัยก่อนเชื่อว่าหากแมงคาเรืองเข้าไปในรูหูของใครแล้ว จะกัดกินแก้วหูทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานมาก และเอาออกจากรูหูได้ยาก คนไทยในอดีต โดยเฉพาะเด็กๆ ในชนบทจึงทั้งเกลียดทั้งกลัวแมงคาเรือง พอๆ กับผีเลยทีเดียว นอกจากนี้เมื่อหัวพืชบางชนิด เช่น มันเทศ เกิดเป็นรู ทำให้เนื้อมีสีดำคล้ำ และมีรสขมก็จะโทษว่าเป็นเพราะมีแมงมาเจาะกิน แม้แต่ฟันเด็ก ๆ ที่ผุเป็นรู ก็เรียกว่าแมงกินฟัน หรือฟันเป็นแมงอีกเหมือนกัน สรุปว่าอะไรๆ ที่มีคำว่าแมงล้วนแล้วแต่ไม่น่าดูและน่ารังเกียจไปเสียทั้งนั้น ยกเว้นแมงชนิดเดียวที่แปลกกว่าแมงอื่นๆ เพราะเป็นพืชผักที่น่ารักและมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะเด็กๆ ชาวไทยสมัยก่อนชอบกันทุกคน นั่นคือ แมงลัก นั่นเอง

แมงลัก : ผักที่ไม่ใช่แมงและไม่เคยลักขโมยใคร
แมงลัก เป็นพืชล้มลุกอยู่ในสกุลเดียวกับกะเพราและโหระพา คือ Ocimum วงศ์ Labiatae จึงมีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกัน เช่น ลำต้นมีรูป (หน้าตัด) สี่เหลี่ยม ใบมีขนอ่อนปกคลุมคล้ายกะเพราแต่แมงลักมีใบและลำต้นกิ่งก้านเป็นสีเขียวเพียง สีเดียวเท่านั้น ไม่มีสีม่วงด้วยเหมือนกะเพราหรือโหระพา ดอกออกเป็นช่อชั้นรูปฉัตรคล้ายกะเพรา แต่กลีบดอกสีขาว แต่ละชั้นมี ๒ ช่อย่อย ช่อย่อยละ ๓ ดอกเมล็ดสีดำขนาดเมล็ดงา เปลือกเมล็ดมีเยื่อพวก Polyuronide ซึ่งเมื่อแช่น้ำจะพองออกเป็นเมือกสีขาวหุ้มเมล็ดไว้

แมงลัก มีน้ำมันหอมระเหยอยู่มากเช่นเดียวกับกะเพราะและโหระพา แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว แมงลักมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น อินเดียและประเทศใกล้เคียง (คงรวมทั้งประเทศไทยด้วย) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของแมงลักคือ Ocimum canum Sims (ภาษาอังกฤษเรียก Hoary Basil อินเดียเรียก Shyam Tulasi (Shyam แปลวา ดำ เนื่องจากเมล็ดมีสีดำ) คนไทยเรียก แมงลัก ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับแมงหรือลักตรงไหน หากผู้อ่านท่านใดทราบความเป็นมาของคำว่า “แมงลัก” ช่วยบอกมาเป็นวิทยาทานแก้จะเป็นพระคุณยิ่ง จะเห็นได้ว่า ทั้งคนไทยรุ่นเก่ารุ่นใหม่และรุ่นกลาง ล้วนได้รับประโยชน์จากแมงลักกันอย่างทั่วถ้วนหน้า แล้วอย่างนี้จะไม่เรียกว่าเป็น “แมง” ที่น่ารักได้อย่างไร หากผู้อ่านเห็นความน่ารักของแมงลักแล้วก็ขอให้ช่วยกินแมงลักกันให้มาก ๆ หรือจะให้ดีกว่านั้นก็ช่วยกันปลูกแมงลักเอาไว้ที่บ้านด้วย ก็จะยิ่งน่ารักทั้งแมงลักและคนปลูกเลยทีเดียว

อาหาร
คนไทยแต่ก่อนคือว่าแมงลักเป็นผักชนิดหนึ่ง ดังเห็นจากหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปลัดเล พ.ศ.๒๔๑๖ คือ ๑๒๔ ปีมาแล้ว เขียนว่า “แมงลัก: คือ ต้นผักอย่างหนึ่ง, ใบมันกินเป็นกับข้าว, ลูกเมล็ดมันเขากินเป็นของหวานได้”
ในหนังสือประมวลสรรพคุณยาไทยฯ ของสมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณสำนักวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ได้กล่าวถึงแมงลักในฐานะผักว่า...
ใบใช้ปรุงเป็นผัก แกงเลียง น้ำยา กินเป็นอาหารมีปลูกกันตามบ้านเป็นสวนครัวทั่วไป”
จาก หนังสือสองเล่มข้างต้น จะเห็นได้ว่าส่วนของแมงลักที่ใช้เป็นผัก คือ ใบ และอาหารไทยที่ใช้ใบแมงลักเป็นผักยอดนิยม ๒ ชนิด คือ แกงเลียง และน้ำยา (ขนมจีน)

ประยูร อุลุชาฎะ เขียน คำนำในหนังสือ “อาหารรสวิเศษของคนโบราณ” ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปี ๒๕๓๑ มีบางตอนเกี่ยวกับแกงเลียงและใบแมงลัก ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้เขียนขออนุญาตลอกมาฝากผู้อ่านดังนี้... “แกงเลียงสมัยก่อนที่รู้จักกัน จะใส่หัวปลี มิฉะนั้นก็ใส่ตำลึง น้ำเต้า ผักโขม แม้ฟักก็มี แต่ที่พัฒนาการมาถึงขนาดใส่ข้าวโพดอ่อน เชื่อแน่ว่าไม่มีคนรุ่นเก่ารู้จักกันแน่ แกงเลียงสมัยก่อนเขาใส่ใบแมงลักด้วยดูราวกับจะเป็นสูตรของมันบางอย่าง แต่สมัยนี้เขาไม่ยินดียินร้ายต่อใบแมงลัก เราก็ไม่รู้ว่าจะเรียกแกงอะไรกันแน่...” และอีกตอนหนึ่งว่า “...แกงเลียงของไทยกับแกงจืดของพม่าตำรับเดียวกัน ดังที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล นิพนธ์ไว้ในเรื่องเที่ยวพม่า แกงเลียงไทยง่าย ๆ คือเอาหัวหอมโขลกกับพริกไทย กุ้งแห้ง (หรือปลากรอบ) กะปิละลายน้ำเต็มจนเดือด ใส่เกลือ ใส่ผัก เช่น ผักตำลึงหรือหัวปลี ปอกเปลือกหั่นตามขวาง (หั่นแล้วแช่น้ำ บีบมะนาวลงไปสักครึ่งซีก มิให้หัวปลีดำ) เมื่อน้ำเดือดก็ช้อนหัวปลีหั่นล้างน้ำใส่ลงไปต้มจนสุก ใส่ใบแมงลัก ยกกินกับข้าว เป็นอาหารเก่าแก่ของคนไทยขนานหนึ่ง...”

นอก จากแกงเลียงแล้วอาหารที่คู่กับใบแมงลักมาแต่โบราณอีกอย่างหนึ่งก็คือ น้ำยา (ขนมจีน) ปกติขนมจีนจะราดด้วยน้ำยาหรือน้ำพริก (ปัจจุบันราดด้วยแกงเผ็ดไก่ด้วย) สำหรับน้ำพริกนั้นนิยมกินกับผักจำพวกใบแมงลัก ถั่วงอกลวก เป็นต้น ผักที่ใช้กินกับขนมจีนนี้ภาษาโบราณรวมเรียกว่า “เหมือด” นับเป็นศัพท์โบราณที่หาคนเข้าใจได้น้อยลงทุกที ในขณะเดียวกัน ขนมจีนน้ำยายุคใหม่ก็เริ่มจะไม่ใช้ใบแมงลักทำนองเดียวกับแกงเลียงยุคใหม่ นั่นเอง

อาหารไทยตำรับอื่นๆ ที่มีใบแมงลักเป็นเครื่องปรุงมักจะเป็นอาหารที่มีรสจัดหรือกลิ่นแรง ซึ่งใบแมงลักมีกลิ่นรสเหมาะกับอาหารเหล่านั้น เช่น ห่อหมกหน่อไม้ อ่อมน้องวัว ต้มบวบกับปลาย่าง แกงคั่วฟักทองกับหมูใส่ใบแมงลัก แกงโต้ (แกงรวม) แกงอุปูนา ปลาต้มแซบ แกงหน่อโจด แกงขนุนใส่ไก่ ต้มส้มปลาเทโพกับผักติ้ว ฯลฯ น่าสังเกตว่า อาหารที่ยังนิยมใส่ใบแมงลักเป็นอาหารภาคอีสานยังรักษาตำรับอาหารไทยแต่เดิม เอาไว้ได้มากกว่าภาคอื่นๆ (โดยเฉพาะภาคกลาง) ก็ได้

สมุนไพร
เนื่อง จากใบของแมงลัก มีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีคุณสมบัติทางยาอยู่มากกว่าส่วนอื่นๆ จึงนิยมนำใบแมงลักมาใช้เป็นสมุนไพร ดังปรากฏในตำราสมุนไพรไทยฉบับต่างๆ เช่น
ใบแมงลัก : รสร้อนอ่อน ๆ แก้ลม วิงเวียน ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร แก้ซางชักในเด็ก
แมงลักทั้งต้น : แก้ไอ และโรคทางเดินอาหาร
เมล็ดแมงลัก : แช่น้ำให้พอง กินเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้บิด
ตำรา ต่างประเทศกล่าวว่า น้ำมันหอมระเหยของแมงลักมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันหอมระเหยของกะเพรา หมายความว่า แมงลักใช้รักษาโรคที่กะเพรารักษาได้ ตำราไทยกล่าวว่า แมงลักใช้แทนผักคราดและกะเพราได้ (ในด้านสมุนไพร)

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
ใบแมงลัก นำไปกลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยซึ่งใช้ได้ในอุตสาหกรรมสบู่และเครื่องสำอางโดยใช้เป็นส่วนแต่งกลิ่น
เมล็ดแมงลัก นำมากินเป็นของหวานได้ โดยเฉพาะตำรับเมล็ดแมงลักน้ำกะทิ ซึ่งเป็นของหวานยอดนิยมของเด็กไทยสมัยก่อน แม้ในปัจจุบันเมล็ดแมงลักก็ยังมีขายในตลาดทั่วไปเช่นเดียวกับขนมเมล็ดแมงลัก น้ำกะทิก็ยังมีขายอยู่ตามร้านน้ำแข็งใส เหตุที่เมล็ดแมงลักยังเป็นที่นิยมกินอยู่ในปัจจุบันคงเป็นเพราะความประหยัด กินง่าย(ลื่นคอ) และประโยชน์ด้านสมุนไพร (รักษาธาตุระบาย) ฯลฯ
นอกจาก นั้นยังมีประโยชน์อย่างใหม่ คือ ผู้ที่กลัวความอ้วนหรือต้องการลดความอ้วนก็นิยมกินเมล็ดแมงลักกันมากขึ้น เพราะทำให้กระเพาะเต็มและอิ่มโดยไม่ทรมานจากการอดอาหารหรือกินอาหารน้อยเกิน ไป จากคุณสมบัติข้อนี้เองทำให้มีการนำเปลือกหุ้มเมล็ดแมงลัก(แยกเนื้อในเมล็ด ออก)มาจำหน่ายเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารลดความอ้วนเพื่อให้ได้ผลดียิ่งกว่า การกินเมล็ดแมงลักทั้งเมล็ด นับว่าเป็นบทบาทใหม่ของแมงลักที่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนรุ่นใหม่หันมานิยมแมงลักเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ขอบคุณ:http://doctor.or.th/node/2695

มะระ,Mara

มะระขี้นก


มะระ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดีมี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นกและมะระจีน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Momordica charantia สำหรับชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (สำหรับชื่อ bitter gourd หรือ biiter melon นี้มีที่มาจากชื่อจีนที่เรียกว่า 苦瓜)

มะระขี้นกสุก

มะระขี้นก
 เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก
มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ บางครั้งราดด้วยกะทิสดเพื่อเพิ่มรสชาติ
การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง
นอกจากใช้ผลเป็นอาหารแล้ว ใบของมะระขี้นกก็นำมาทำอาหารได้ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะมีรสขม ยอดมะระลวกเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือกับปลาป่นของชาวอีสาน ยิ่งเด็ดยิ่งแตกยอดเพิ่มอีก ทางภาคเหนือนิยมนำยอดมะระสดมากินกับลาบ หรือนำไปทำแกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ได้รสน้ำแกงที่ขมเฉพาะตัว
ทางอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดแบบพื้นบ้านจะทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ กลมกล่อมมาก บ้างนิยมนำใบมะระมาต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก

ประโยชน์ทางยา

สรรพคุณของมะระขี้นก 1. จะช่วยเจริญอาหาร การที่ผลมะระขี้นกช่วยเจริญอาหารได้ เพราะในเนื้อผลมีสารที่มีรสขมกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมา มากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้นใช้ผลมะระปิ้งไฟ หรือลวกจิ้มน้ำพริก 2. ยับยั้งเชื้อ HIV หรือเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ใช้เมล็ดจากผลสุก 30 กรัม แกะเมล็ด ล้างเนื้อเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ กะเทาะเมล็ดเปลือกมะระ ควรกะเทาะในภาชนะที่เย็น เช่น ในที่มีอุณหภูมิต่ำ จะได้เนื้อในสีขาว ควรสวมถุงมือยางขณะทำ
  • นำเนื้อใน มาล้างน้ำให้สะอาด เติมน้ำหรือน้ำเกลือที่แช่เย็นลงไป 90-100 มิลลิลิตร ปั่นในเครื่องปั้นที่แช่เย็น แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น จะได้น้ำยาสีขาวขุ่น
  • น้ำยาสีขาวขุ่น ใช้สวนทวารหนัก ครั้งละ 10 มิลลิลิตร วันละครั้ง
  • ถ้านำน้ำ ที่ปั่นไปแช่ตู้เย็น จะแยกเป็น ๒ ชั้น ให้ใช้ชนบนที่มีลักษณะใส
ข้อควรระวัง 1. การสวนทวาร ควรใช้วาสลินช่วยหล่อลื่นก่อนการสวน 2. ทุกขั้นตอนให้ระวังเรื่องความสะอาด 3. ต้องรักษาความเย็นตลอดเวลา

 ขอบคุณ:http://th.wikipedia.org/wiki

กระเพรา -Ocimum sanctum L.

ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Ocimum sanctum L.
วงศ์ :                         Labiatae
ชื่ออื่น :                      กอมก้อ  กอมก้อดง  กะเพราขาว  กะเพราแดง



ลักษณะ
ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3
ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนดอก เป็นแบบช่อฉัตร
ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว
โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม
ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง
ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม.
ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา
ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง
ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว
โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์
แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol
ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
สรรพคุณ
ใบ     ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ
          ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้ม ให้เดือด แล้วกรอง
          เอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบ ๆ
          สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ
          ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย สำหรับ
          ใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด
          ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง
เมล็ด  เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง
          นั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก     ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

           สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็คือ สรรพคุณขับไขมัน
เคยสังเกตไหมว่า เหตุใดจึงมีตำรับอาหารไทยจำพวกผัดกะเพราเนื้อ กะเพราหมู กะเพราไก
             เหตุผลไม่เพียงแค่ใช้ใบกะเพราดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์เท่านั้น ต่ที่สำคัญคือช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย
             มีงานวิจัยหลายชิ้น หลายสำนักที่กล่าวถึงสรรพคุณอันหลากหลายของใบกะเพรา
ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสรรพคุณที่เชื่อมโยงกับฤทธิ์ลดไขมันและน้ำ ตาลของใบกะเพราเท่านั้น

ฤทธิ์ลดไขมัน
             มีการใช้กะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายได้รับใบกะเพราสดผสมในอาหาร เพียง 1-2 กรัม/กก./วัน
เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อตรวจเลือดสัตว์ทดลองแล้ว พบว่า ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (Total Cholesterol)
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)  ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ลดลงอย่างฮวบฮาบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลตัวเลว
(Low Density Lipoprotein-LDL-Cholesterol) ลดลง พอๆ กับที่ คอเลสเตอรอลตัวดี (High Density-HDL-
Cholesterol) เพิ่มขึ้น
ฤทธิ์ลดน้ำตาล
จากการศึกษาในหนูทดลอง ให้ผงใบกะเพราขนาด 200 มิลลิกรัม/กก./วัน ในหนู 3 ประเภท ได้แก่ หนูปกติ
หนูที่มีภาวะน้ำตาลสูงจากการให้กลูโคส และหนูที่เป็นเบาหวานโดยการทำลายตับอ่อน พบว่า
กะเพราสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองทั้ง 3 ประเภท  นอกจากนี้ น้ำมันหอม ระเหยในใบกะเพรา  
(Basil Essential Oil) ยังช่วยให้กลไกควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นปกติด้วย
แน่นอนเมื่อใบกะเพรามีฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลอย่างมีประสิทธภาพแ ล้ว 
ย่อมมีผลทำให้มวลร่างกายลดลงอย่างเห็นหน้าเห็นหลัง   โดยเฉพาะน้ำตาลนั้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนมากกว่าไขมันเสียอีก
อย่างไรก็ตาม การบริโภคใบกะเพราให้ได้ผลในการลดความอ้วนนั้น จะต้องบริโภคทุกวันให้ถูกวิธี ดังนี้
  1. ความสดของใบกะเพรา ใบกะเพราะสดมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าใบกะเพราที่ปรุงสุกแล้ว หรือถ้าใช้ผงกะเพรา          จะต้องได้จากกระบวนการอบระเหย เอาเฉพาะน้ำออกไปโดยไม่สูญเสีย น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดในใบกะเพรา
  2. ขนาดการใช้  กรณีการใช้กะเพราในคนก็ใช้ในขนาดเท่ากับในสัตว์ทดลองคือ กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน คือถ้าคนหนัก 70 กิโลกรัม ก็ต้องบริโภคใบกะเพราะสด วันละปริมาณ 140-150 กรัม
ถ้าสามารถบริโภคกะเพราตามวิธีข้างต้นรับรองว่า   นอกจากสามารถลดน้ำหนักร่างกายให้ได้ หุ่นสมาร์ทสมใจนึกแล้ว
ยังสมาร์ทอย่างมีสุขภาพดีด้วยเพราะใบกะเพรานั้น นอกจากมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาลแล้ว ยังมีฤทธิ์รักษาโรคเบาหวาน
ลดการทำลายผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งป้องกันโรคหัวใจวาย
และโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นจำนวนมากในพลเมืองคนอ้วนทั้งหลาย
ขอบคุณ:http://www.the-than.com/samonpai/sa_4.html

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชะเอม

ชะเอมไทย
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Albizia myriophylla  Benth.
วงศ์   Leguminosae - Mimosoideae
ชื่ออื่น :  ชะเอมป่า (กลาง) ตาลอ้อย (ตราด) เพาะซูโพ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ย่านงาย (ตรัง) ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ) อ้อยช้าง (สงขลา,นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถารอเลื้อย ลำต้น กิ่งก้านมีหนามแหลมสั้น เปลือกต้นมีรอยแตกตามขวางลำต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอก 2 แบบ ดอกสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเล็ก เกสรเพศผู้ยาว ผล เป็นฝักแบน ผิวเรียบ ฝักอ่อนสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก
ส่วนที่ใช้ : 
ราก เนื้อไม้
สรรพคุณ :
  • ราก  - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใช้แทนชะเอมเทศ
  • เนื้อไม้   - บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ แก้โรคในคอ
วิธีและปริมาณที่ใช้
 แก้ไอขับเสมหะ 
       
        
ใช้รากยาว 2-4 นิ้ว ต้มน้ำรับประทาน เช้า-เย็น ถ้าไม่ทุเทา รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน


ที่มา :http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_1.htm