วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคและแมลงที่สำคัญของมะนาว

โรคและแมลงที่สำคัญของมะนาว



โรคที่สำคัญ

1. โรคแคงเกอร์
ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน


















โรคแคงเกอร์
2. โรคราดำ
ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรกกระด้างทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภทปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ


















ราดำที่ใบ ราดำที่กิ่งก้าน
3. โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว)
ลักษณะอาการ ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
การป้องกันกำจัดทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5


















โรคใบแก้ว
4. โรคยางไหล
ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้
การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย
5. โรครากเน่าและโคนเน่า
ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน


ที่มา : http://web.ku.ac.th/agri/lemon/b6.htm

สนับสนุนโดย


Happy M-1
  
อาหารเสริมสำหรับพืช 

แฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน  เป้นอาหารเสริมทางใบที่สำคัญและจำเป็นต่อการเจริญเติมโตผลิดอกออกผลของพืช  ประกอบด้วยธาตุอาหารในรูปคีเลท (CHELATE FORM) ที่พืชสามารถดูดชึมนำไปใช้ได้ทันที  แฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ


แมกนีเซียม  (Mg)         0.5%                 ไบรอน (B)                   0.3%

เหล็ก (Fe)                   1.5%               กำมะถัน (S)                    4.0%

 สังกะสี(Zn)                0.5%               ทองแดง (Cu)                   1.5%

แมงกานีส(Mn)            1.5%                อินทรีย์สาร                       3.0%
 
                       วิตมิน (B1,B2,B6,B12) 10 มิลลิกรัม/100 กรัม

  
อัตราและวิธีใช้ แฮ็ปปี้ เอ็ม วัน ให้ได้ประสิทธิภาพ 

1.นาข้าว ผสมแฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน

2.ผักกินใบ ผสมแฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน

3.ผักกินผล เช่น บวบ,ถั่วฝักยาว,ฟัก,แตงกวา ฯลฯ ผสมแฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน 15-20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

4.ไม้ผล เช่น มะม่วง,มะนาว,ส้ม,ลำไย ฯลฯ ผสมแฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน 15-20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 10-15 วัน

5.ไม้ดอก ไม้ประดับ ผสมแฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน 10-15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

6.กล้วยไม้ ผสมแฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ประโยชนืที่พืชจะได้รับจาด แฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน  ยอดอาหารเสริมสำหรับพืช 

1.พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของอาหารเสริมสำหรับพืช แฮ็ปปี้ เอ็ม-วัน ได้เร็วช่วยให้พืชดำรงอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์สูงสุด ซึ่งจะทำให้พืชมีความทนทานฟื้นฟูที่ทรุดโทรมขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

2.เพื่อช่วยเสริมสร้าง การเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์สูงสุดให้ลำต้น ดอก  ใบ และผลของพืช ไม่ทำลาลยสิ่งแวดล้อม

3.ช่วยในการพัมนาใบ และผล ลดการหลุดร่วงขยายขนาดของผล เพิ่งคุณภาพและปริมาณของผลผลิตพืช ผัก ผลไม้ มีโครงสร้างที่ดี เก็บไว้ได้นาน รสชาติดีขึ้น ช่วยให้เกษตรกร สามารถขยายขอบเบตการตลาด

4.สามารถใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อกำจัดโรคพืช  และแมลงศัตรูพืชทุกชนิดหรือผลิตภัณฑ์เคมีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

5.ช่วยเพิ่มขยายรากพืชทุกชนิดอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น